ฟังก์ชันลอการิทึม Logarithmic Function


ฟังก์ชันลอการิทึม  Logarithmic Function
               จากฟังก์ชันลอการิทึม มีความหมายเหมือนกับ ดังนั้นกราฟของ   จึงมีได้ 2 ลักษณะ คือ
                 

                1.กราฟฟังก์ชัน 

                2.กราฟฟังก์ชัน 


                                   
                          เนื่องจาก ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล   เป็นฟังก์ชัน 1-1 จาก R ไปทั่วถึง R+
   ทำให้เราทราบได้เลยว่า 
อินเวอร์สของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จะเป็นฟังก์ชันแน่ ๆ และยังเป็นฟังก์ชัน 1-1 จาก R+ ไปทั่วถึง R
    ถ้าเราเปลี่ยน x เป็น Y และเปลี่ยน y เป็น x
 ที่เงื่อนไขของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จะได้ฟังก์ชันอินเวอร์สของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ

                      จุดกำเนิดของฟังก์ชันลอการิทึม


เนื่องจาก  นักคณิตศาสตร์ทั่วไป ไม่นิยม ให้เงื่อนไขของฟังก์ชันใด ๆ อยู่ในรูป

           ตัวแปรต้น (x) = กลุ่มของตัวแปรตาม (y)   แต่นิยมให้เงื่อนไขอยู่ในรูป

           ตัวแปรตาม (y) = กลุ่มตัวแปรต้น (x)
พบว่า ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล มีเงื่อนไข

           ตัวแปรตาม (y) = aตัวแปรต้น (x) ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่นิยมอยู่แล้ว
แต่ ฟังก์ชันอินเวอร์สของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลมีเงื่อนไข

           ตัวแปรต้น (x) = aตัวแปรตาม (y) เห็นไหมไม่อยู่ในรูปแบบที่นิยม

           ดังนั้น นักคณิตศาสตร์จึงอยากจะเปลี่ยนเงื่อนไข ฟังก์ชันอินเวอร์สของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ใหม่เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่นิยมโดยกำหนดให้เขียน  ใหม่เป็น  แบบดื้อ ๆ เลย


                   ข้อตกลง
1. ถูกอ่านออกเสียงว่า “ลอการิทึมเอกซ์ฐานเอ” หรือ “ล็อกเอกซ์ฐานเอ”
2. ฟังก์ชันอินเวอร์สของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลสามารถเขียนใหม่ได้เป็น 
3. ฟังก์ชันอินเวอร์สของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ถูกเรียกใหม่ว่า ฟังก์ชันลอการิทึม


                     ข้อกำหนด
       ฟังก์ชันลอการิทึม คือ 

       เป็นอินเวอร์สของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล 

กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม

              จากที่เราทราบอยู่แล้วว่าฟังก์ชันลอการิทึม กับ ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลเป็นอินเวอร์สซึ่งกันและกัน แสดงว่า กราฟของฟัง์ชันทั้งสองจะสมมาตรซึ่งกันและกัน เมื่อเทียบกับเส้นตรง
               ดังนั้น จึงได้กราฟของฟังก์ชันลอการิทึมทั้ง 2 ชนิด โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของฐาน ดังตารางต่อไปนี้
กับ
  กับ 


 นิยามของลอการิทึม
       
นิยามฟังก์ชันลอการิทึม คือ อินเวอรส์ของฟังก์ชันเอกซ์โปเนนเซียลอยู่ในรูป       
     
          Exponential :    
       
          Log :             

นิยามฟังก์ชันลอการิทึมคือ    

          จึงสรุปได้ว่า ตัวเลขหลัง ต้องเป็นจำนวนจริงบวก
                    ฐานของ ต้องเป็นเลขจำนวนจริงบวก แต่ไม่เป็น 1
                    ค่าของ คือ y เป็นจำนวนจริงบวก จำนวนจริงลบ หรือศูนย์ก็ได้

 อ่านว่า “ลอการิทึมเอกซ์ฐานเอ” หรือ “ลอกเอ็กซ์ฐานเอ” " loga"

           เนื่องจาก f (ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเซียล) เป็นฟังก์ชัน 1 – 1 ดังนั้น จึงเป็นฟังก์ชันและเป็นฟังก์ชัน 1 – 1 ด้วย
 คุณสมบัติของลอการิทึม

                    คุณสมบัติ 7 ประการของลอการิทึม มีดังนี้

1. สมบัติการบวก    

Example จงรวมพจน์ของ 
                                                                      
                                                                                                                     
2. สมบัติการลบ    

Example จงรวมพจน์ของ   
                                                          
                                                                                          
3. สมบัติของเลขลอการิทึม ที่เท่ากับเลขฐาน   

Example จงหาค่าของ   
                                         

               ** การนิยามในลอการิทึม จะไม่นิยามให้เป็นจำนวนลบ ** 
4. สมบัติของลอการิทึม 1   

      * เหตุที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะหากว่าเราเขียนกลับจากรูปลอการิทึม

                                         

จะได้เลขยกกำลังเป็น   แต่ a เป็น - หรือ 0 ไม่ได้ 
5. สมบัติเลขยกกำลังของลอการิทึม   

           * คุณสมบัตินี้บอกให้เรานำเลขชี้กำลังของลอการิทึมมาไว้ด้านหน้า เพื่อนำมา
คูณกับเลขลอการิทึม *

Example   
                                 
6. คุณสมบัติฐานลอการิทึมที่เขียนเป็นเลขยกกำลังได้     

Example     
                                   
7. คุณสมบัติการเปลี่ยนฐานของลอการิทึม   

          *คุณสมบัติการเปลี่ยนฐานได้นี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับการแก้ปัญหาสมการลอการิทึม คุณสมบัตินี้บอกว่า
หากเราไม่พอใจฐานลอการิทึมที่โจทย์กำหนดมา เราสามารถเปลี่ยนฐานลอการิทึมใหม่ได้ตามต้องการ แต่ต้องมากว่า 0
และไม่เท่ากับ 1 ซึ่งมักเปลี่ยนเป็นฐาน 10

Example จงเปลี่ยน   เป็นฐาน 10
                                        

            *ลอการิทึมฐาน 10 เป็นลอการิทึมที่พบบ่อยและมักจะไม่นิยมเขียนเลขฐานกำกับไว้โดยตกลงว่าเมื่อ เขียนลอการิทึมที่ไม่มีฐานแสดงว่าเป็นลอการิทึมฐาน 10 เรียกว่า “ ลอการิทึมสามัญ ”
สูตรของลอการิทึม
เงื่อนไข : ฐานล็อก คือ มากกว่า 0 , ไม่เท่ากับ 1 หลังล็อก คือ มากกว่า 0

1.      ก็ต่อเมื่อ      โดย      และ       และ   
2.      และ     เมื่อ  

3.   

4.    

5.    

6.       โดยทั่วไปนิยมเปลี่ยนเป็นฐาน 10

7.    

8.    

9.    

10.   
กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม


กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม
               ลอการิทึมจากฐานต่างๆ : สีแดง คือ ฐานe, สีเขียว คือ ฐาน 10 และสีม่วง คือ ฐาน 1.7 แต่ละขีดช่วงบนแกนคือ 1 หน่วย โปรดสังเกตว่าลอการิทึมของทุกฐานจะผ่านจุด (1, 0) (ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะจำนวนใดๆ (ที่ไม่ใช่ศูนย์) เมื่อยกกำลัง 0 มีค่าเท่ากับ 1)
               ลอการิทึม เป็นการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นฟังก์ชันผกผันของ ฟังก์ชันเอกโปเนนเชียล (ใช้ค่าคงตัว หรือ "ฐาน" เป็นเลขยกกำลัง) ลอการิทึมของจำนวน x ที่มีฐาน b คือจำนวน n นั่นคือ  x = bn  เขียนได้เป็น

                                  

ตัวอย่างเช่น

                     
               

เพราะว่า

                                  

หากเป็นจำนวนเต็มบวก, คือ ผลลัพธ์ของตัวประกอบ  ตัว เท่ากับ  


                                             

         อย่างไรก็ตาม อย่างน้อย หาก เป็นบวก นิยามนี้อาจขยายไปยังจำนวนจริง ใดๆ ในทำนองเดียวกัน ฟังก์ชันลอการิทึมอาจนิยามได้สำหรับจำนวนจริงบวกใดๆ สำหรับฐานบวก อื่นๆ แต่ละฐาน นอกเหนือจาก 1 ในที่นี้ คือ ฟังก์ชันลอการิทึม 1 ฟังก์ชัน และฟังก์ชันเอกซ์โปเนนเชียล 1 ฟังก์ชัน โดยมันเป็นฟังก์ชันผกผัน

         ลอการิทึมนั้นสามารถลดการดำเนินการคูณเป็นการบวก การหารเป็นการลบ ยกกำลังเป็นการคูณ และการถอดรากเป็นการหาร
ดังนั้นลอการิทึมจึงมีประโยชน์สำหรับการดำเนินการกับตัวเลขจำนวนมากให้ง่ายขึ้นและถ้ามีการใช้อย่างแพร่หลายก่อนมีการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการคำนวณในด้านดาราศาสตร์ , วิศวกรรมศาสตร์ , การเดินเรือ และการทำแผนที่ โดยมีคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ที่สำคัญ และยังคงใช้ในหลายรูปแบบ
 ฟังก์ชันเพิ่ม


กราฟของฟังก์ชัน    จะผ่านจุด  (1,0)  เสมอ เพราะ   
ถ้า      เป็นฟังก์ชันเพิ่ม

ฟังก์ชันลอการิทึมเป็นฟังก์ชัน 1-1 จาก     ไปทั่วถึง  

โดยอาศัยสมบัติของฟังก์ชัน 1-1 จะได้ว่า

   ก็ต่อเมื่อ  

จากฟังก์ชันลอการิทึม    จะได้
โดเมนของฟังก์ชัน    
เรนจ์ของฟังก์ชัน    
ฟังก์ชันลด

กราฟของฟังก์ชัน     จะผ่านจุด  (1,0)  เสมอ เพราะ   
ถ้า        เป็นฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันลอการิทึมเป็นฟังก์ชัน 1-1 จาก     ไปทั่วถึง  

โดยอาศัยสมบัติของฟังก์ชัน 1-1 จะได้ว่า

   ก็ต่อเมื่อ  

จากฟังก์ชันลอการิทึม      จะได้
โดเมนของฟังก์ชัน    
เรนจ์ของฟังก์ชัน    
แหล่งอ้างอิง

          เว็บไซต์ที่จะนำเสนอนี้เป็นการใช้สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเรื่องการเรียนรู้เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม
วิชา คณิตศาสตร์ รหัส ค 40204 และวิชา คอมพิวเตอร์ รหัส ง 40205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/1 เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาคณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
          เว็บไซต์นี้ทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าเพิ่มเติมนอกห้องเรียนและมิได้มุ่งหวังเพื่อ
การค้าหรือธุรกิจใดๆ เนื้อหาสาระในเว็บไซต์นี้ได้มาจากการค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลในเอกสารตำรา หนังสือและ เว็บไซต์ต่างๆ
ได้แก่ http://www.ipst.ac.th/smath/cir/cir2503.html
         http://www.geocities.com/arun_2med/filemath/01.doc
         www.tps.ac.th/~nuttaphol/expor&log1.doc
สำหรับภาพประกอบที่นำมาประกอบเนื้อหานั้นเป็นภาพที่ผู้จัดทำได้จัดทำเอง และมีบางส่วนที่นำมาจากที่อื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น